ยอห์นผู้ให้บัพติศมา - แคนซัสซิตี ของ ยอห์นผู้ให้บัพติศมา (การาวัจโจ)

ยอห์นผู้ให้บัพติศมา
ศิลปินการาวัจโจ
ปีราว ค.ศ. 1604
ประเภทจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ
สถานที่พิพิธภัณฑ์เนลสัน-แอ็ทคินส์, แคนซัสซิตี
“พระแม่มารีและพระบุตรและยอห์นผู้ให้บัพติศมา และนักบุญ” โดย จิโอวานนี เบลลินี ราว ค.ศ. 1500 ถึง ค.ศ. 1504

นักบุญยอห์นในภาพ “พระแม่มารีและพระบุตรและยอห์นผู้ให้บัพติศมา และนักบุญ” ของเจ็นทิเล เบลลินีเป็นภาพที่วาดตามแบบที่วาดกันมาที่เมื่อเห็นก็จะทราบได้ทันทีว่าเป็นนักบุญยอห์น แต่งานเขียนของการาวัจโจเป็นนักบุญยอห์นที่เป็นเขียนอย่างเป็นการส่วนตัวที่สร้างความฉงนให้แก่ผู้ชม

ในปี ค.ศ. 1604 การาวัจโจได้รับจ้างให้วาดภาพนี้โดยนายธนาคารของพระสันตะปาปาและผู้อุปถัมภ์ศิลปะอ็อตตาวิโอ คอสตาผู้เป็นเจ้าของภาพ “จูดิธตัดหัวโฮโลเฟิร์นเนส” และภาพ “มาร์ธาและแมรี แม็กดาเลน” ของการาวัจโจอยู่แล้ว คอสตาตั้งใจจะส่งภาพนี้ไปใช้เป็นฉากแท่นบูชาสำหรับชาเปลเล็กๆ ในแคว้นคอนเซ็นเต (Conscente) ซึ่งเป็นแคว้นเล็กของตนเอง แต่เมื่อเสร็จคอสตาก็ชอบภาพนี้มากจนเก็บเอาไว้ดูเองและส่งก็อปปีไปให้แคว้นแทนที่ ในปัจจุบันภาพเขียนนี้เป็นของพิพิธภัณฑ์เนลสัน-แอ็ทคินส์ที่แคนซัสซิตีในสหรัฐอเมริกา

“ความตัดกันอย่างแรงของแสงและความมืดทำให้มีความรู้สึกว่านักบุญยอห์นเอนตัวจากเงามืดลึกของฉากหลังมายังบริเวณที่สว่างที่เป็นบริเวณของผู้ชมภาพ... อารมณ์หมกมุ่นครุ่นคิดของนักบุญยอห์นเนลสัน-แอ็ทคินส์เป็นที่ทำให้นักเป็นที่ต้องตาของผู้มีความเห็นเกือบทุกคน ดูเหมือนกับว่าการาวัจโจจะถ่ายทอดอย่างเป็นนัยยะถึงความรู้สึกรันทดในการเผยแพร่ศาสนา และความตายอันไม่สมควรที่จะเกิดขึ้นและอันไม่ควรแก่กาลเวลาที่จะเกิดขึ้น นัยยะของภาพอาจจะเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกของสภาวะทางจิตใจของการาวัจโจเองในขณะนั้นก็เป็นได้ นอกจากนั้นอารมณ์ของภาพก็อาจจะเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการใช้สอยของภาพ เพราะเป็นภาพที่ใช้ในสถานที่สำหรับการพบปะของคณะภราดร (confraternity) ผู้มีหน้าที่ดูแลคนเจ็บป่วยและผู้ที่ใกล้ตาย และมีหน้าที่ฝังศพของผู้ที่ตายด้วยโรคระบาด” เก็บถาวร 2006-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

นักเขียนชีวประวัติปีเตอร์ รอบบ์ชี้ให้เห็นว่าภาพนักบุญยอห์นภาพที่สี่นี้ดูเหมือนเป็นเงาสะท้อนทางจิตใจของภาพแรก ซึ่งสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏในภาพทั้งสองกลับด้านกันหมด แสงสว่างตอนเช้าที่อาบภาพแรกกลายมาเป็นแสงจัดและตัดกันราวกับแสงจันทร์ในภาพที่สอง หรือสีเขียวจัดของใบไม้กลายมาเป็นใบไม้แห้งสีน้ำตาล นอกจากนั้นในภาพหลังนี้ก็เกือบไม่มีสัญลักษณ์ใดๆ ที่บ่งให้เห็นว่าเป็นภาพเขียนเกี่ยวกับศาสนา—ไม่มีรัศมี, ไม่มีแกะ, ไม่มีขนอูฐหรือขนแกะ, ไม่มีเข็มขัด มีก็แต่เพียงอย่างเดียวคือกางเขนใบหญ้า (ที่บรรยายโดยพระเยซูว่าเป็น “ใบหญ้าที่ไหวด้วยสายลม”) ภาพเขียนแสดงให้เห็นสิ่งที่รอบบ์บรรยายว่าเป็น “ความรู้สึกเป็นนาฏกรรมของมนุษย์” ของการาวัจโจ ชายหนุ่มในภาพที่เกือบจะเป็นผู้ใหญ่ดูเหมือนจะหมกมุ่นอยู่กับความคิดที่พระเจ้าเท่านั้นที่จะทราบ การวางภาพของการาวัจโจที่เป็นเพียงตัวนักบุญนั่งโดดเดี่ยวโดยปราศจากสิ่งประกอบอื่นๆ ที่เป็นการบรรยายภาพที่ทำให้เกิดคำถามต่างๆ เช่น จะทราบได้อย่างไรว่านี่คือนักบุญยอห์น หรือเกิดอะไรขึ้นในภาพ เป็นการวางภาพที่ใหม่ที่ไม่เคยทำกันมาก่อน จิตรกรตั้งแต่จอตโต ดี บอนโดเนมาจนถึงเจ็นทิเล เบลลินีและหลังจากนั้นวาดภาพที่ดูแล้วเข้าใจง่ายที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับนักบุญยอห์นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป การวางภาพที่แสดงอารมณ์ที่อยู่ในโลกของตนเองแทนที่จะแสดงสัญลักษณ์ทางศาสนาที่เป็นที่ยอมรับของสังคมจึงเป็นความคิดที่ใหม่ที่นอกแนว

ใกล้เคียง